ไท้ส่วยกับดวงชะตา
Demigod of Fortune
ไท้ส่วยคืออะไร
ไท้ส่วย แปลว่า อายุ ดวงดาว หรือเทพที่ส่งอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงของดวงชะตา โดยมาจากการโคจรของนักษัตรต่างๆที่ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนมาสถิตเป็นเจ้าเรือนประจำปีในช่วงเวลาตรุษจีนหรือวันปีใหม่ของจีน โดยมีทั้งหมด 12 นักษัตรที่แตกต่างกันไป ในแต่ละนักษัตรนั้นเป็นสัตว์แต่ละชนิดที่มีลักษณะความโดดเด่นแตกต่างกันไป อันได้แก่
นักษัตรชวด สัตว์ประจำนักษัตรคือ หนู
นักษัตรฉลู สัตว์ประจำนักษัตรคือ วัว
นักษัตรขาล สัตว์ประจำนักษัตรคือ เสือ
นักษัตรเถาะ สัตว์ประจำนักษัตรคือ กระต่าย
นักษัตรมะโรง สัตว์ประจำนักษัตรคือ มังกร
นักษัตรมะเส็ง สัตว์ประจำนักษัตรคือ งู
นักษัตรมะเมีย สัตว์ประจำนักษัตรคือ ม้า
นักษัตรมะแม สัตว์ประจำนักษัตรคือ แพะ
นักษัตรวอก สัตว์ประจำนักษัตรคือ ลิง
นักษัตรระกา สัตว์ประจำนักษัตรคือ ไก่
นักษัตรจอ สัตว์ประจำนักษัตรคือ สุนัข
นักษัตรกุน สัตว์ประจำนักษัตรคือ สุกร
ไท้ส่วยเอี๊ย คืออะไร
ไท้ส่วยเอี๊ย คือเทพประจำนักษัตร เมื่อทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงการโคจรของนักษัตรแต่ละชนิด ก็จะมีการผลัดเปลี่ยนไท้ส่วยเอี๊ยหรือเทพที่คุ้มครองดูแลโชคชะตาในปีนั้นด้วยเช่นกัน ซึ่งทั้งไท้ส่วยเอี๊ยและนักษัตรที่เปลี่ยนแปลงในแต่ละปีย่อมส่งผลถึงดวงชะตาชีวิตของผู้คน ซึ่งถ้าหากไท้ส่วยคุ้มครองดวงชะตา ย่อมส่งผลให้ประสบกับโชคดีมีชัย ทำการสิ่งใดย่อมสำเร็จได้ง่าย ชีวิตราบรื่น มีโชคลาภ แต่ถ้าไท้ส่วยขัดแย้งกับดวงชะตา ก็จะส่งผลเสียให้เจอแต่อุปสรรคปัญหา ความเจ็บป่วยอุบัติเหต มีแต่เรื่องราวให้วิตกกังวลได้ง่าย
วิธีการนับนักษัตร
การนับนักษัตรตามแบบไทยและจีนมีความคล้ายกันจนบางคนสับสนและคิดว่าเริ่มนับเหมือนกัน แต่ความจริงแล้วการเปลี่ยนนักษัตรแบบจีนจะเปลี่ยนในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 1 ตามปฎิทินจันทรคติของจีนหรือในวันตรุษจีน ส่วนของไทยจะนับการเปลี่ยนนักษัตรเมื่อถึงวันขึ้นปีใหม่ไทยหรือวันสงกรานต์ คือเอาวันที่พระอาทิตย์เข้าเรือนราศีเมษตามปฎิทินโหราศาตร์ไทย แต่เมื่อหลังจากสงกรานต์ไปแล้วจะนักษัตรตรงกัน
การสมพงศ์ส่งเสริมและการขัดแย้งไม่ถูกกันของนักษัตร
เหตุของการส่งเสริมหรือการเป็นอริขัดแย้งไม่ถูกกันของนักษัตรนั้น มาจากหลักเบญจธาตุของจีน ซึ่งอาศัยหลักสมดุลของธรรมชาติโดยทุกสิ่งมีการอาศัยส่งเสริมซึ่งกันและกัน คือ ดินกำเนิดทอง ทองกำเนิดน้ำ น้ำกำเนิดไม้ ไม้กำเนิดไฟ ไฟกำเนิดดิน และมีการพิฆาตหักล้างทำลายไม่ถูกกัน คือ ดินพิฆาตน้ำ น้ำพิฆาตไฟ ไฟพิฆาตทอง ทองพิฆาตไม้ ไม้พิฆาตดิน หมุนเวียนกันเป็นวัฎจักร เป็นพื้นฐานของจักรวาลตามทฤษฎีหยินหยาง อันมาจากแนวคิดของจีนที่มีรากฐานจากปรัชญาเต๋า ดังจะเห็นได้ว่าแนวทางการแพทย์จีน โหราศาตร์ ฮวงจุ้ย ศาสนา อาศัยหลักการนี้ทั้งหมด ซึ่งในแต่นักษัตรก็ใช้วิธีการนี้ด้วยเช่นกัน
การสมพงศ์ส่งเสริมของนักษัตร หรือเรียกว่า ฮะ
ในแต่ละนักษัตรจะมีการควบคู่ส่งเสริมเกื้อหนุนต่อกัน หรือที่เรียกว่าเป็นนักษัตรคู่มิตร ซึ่งถ้าหากนักษัตรใดสมพงศ์เกื้อหนุนกันก็จะส่งผลให้เกิดความราบรื่น ส่งเสริมดวงชะตาชีวิตให้ไปในทางที่ดีขึ้น ช่วยเหลือผลักดันให้เกิดความสำเร็จได้ง่าย โดยมีรายระเอียดของนักษัตรที่ส่งเสริมกันดังนี้
นักษัตรชวด(หนู) ถูกโฉลกกับ นักษัตรฉลู(วัว)
นักษัตรขาล(เสือ) ถูกโฉลกกับ นักษัตรกุน(สุกร)
นักษัตรเถาะ(กระต่าย) ถูกโฉลกกับ นักษัตรจอ(สุนัข)
นักษัตรมะโรง(มังกร) ถูกโฉลกกับ นักษัตรระกา(ไก่)
นักษัตรมะเส็ง(งู) ถูกโฉลกกับ นักษัตรวอก(ลิง)
นักษัตรมะเมีย(ม้า) ถูกโฉลกกับ นักษัตรมะแม(แพะ)
การขัดแย้งปะทะเป็นอริไม่ถูกกันของนักษัตร หรือเรียกว่า ชง
เมื่อมีนักษัตรที่ส่งเสริมเป็นมิตรกัน ย่อมมีนักษัตรที่ปะทะเป็นอริขัดแย้งไม่ถูกกันเป็นสิ่งควบคู่ หากนักษัตรใดที่ปะทะขัดแย้งไม่ถูกกันย่อมส่งผลให้เกิดอุปสรรคปัญหาได้ง่าย มีความไม่สงบสุข พบเจอเรื่องราวเบาะแว้งบาดหมาง ทำสิ่งใดก็เกิดความติดขัดคลาดเคลื่อน มีแต่ความเหนื่อยยากลำบาก โดยมีรายละเอียดของนักษัตรที่ขัดแย้งกันดังนี้
นักษัตรชวด(หนู) ไม่ถูกกับ นักษัตรมะเมีย(ม้า)
นักษัตรฉลู(วัว) ไม่ถูกกับ นักษัตรมะแม(แพะ)
นักษัตรขาล(เสือ) ไม่ถูกกับ นักษัตรวอก(ลิง)
นักษัตรเถาะ(กระต่าย) ไม่ถูกกับ นักษัตรระกา(ไก่)
นักษัตรมะโรง(มังกร) ไม่ถูกกับ นักษัตรจอ(สุนัข)
นักษัตรมะเส็ง(งู) ไม่ถูกกับ นักษัตรกุน(สุกร)
การได้รับอิทธิพลเบียดเบียนหรือเกิดความอ่อนแอของนักษัตร เรียกว่า คัก,เฮ้ง,ผั่ว,ไห่
จากทฤษฎีหลักเบญจธาตุของโหราศาตร์จีนที่พิจารณาความสมดุลของธรรมชาติ เมื่อมีนักษัตรที่ส่งเสริมเกื้อหนุน หรือขัดแย้งปะทะกันโดยตรงแล้ว นักษัตรอื่นๆที่เหลือเมื่อเกิดการโคจรเปลี่ยนแปลงในแต่ละครั้งย่อมได้รับอิทธิพลผลกระทบตามไปด้วย ซึ่งผลที่เกิดขึ้นย่อมแตกต่างกันไปตามแต่นักษัตรที่ไม่เหมือนกัน โดยมีรายละเอียดดังนี้
คัก หมายถึง ช่วงเวลาที่นักษัตรเกิดความอ่อนแออ่อนแรง ย่อมส่งผลให้ดีร้ายปะปนสลับกันไป ดวงชะตาชีวิตไม่ค่อยแน่นอน โชคดีลาภผลถูกบั่นทอนลงไป ต้องตระเตรียมไว้ก่อนเนิ่นๆกับทุกสิ่ง ซึ่งนักษัตรที่เป็นคักหรือเกิดความอ่อนแอ คือนักษัตรที่ตรงกับนักษัตรประจำปีเจ้าเรือนของตนนั่นเอง
เฮ้ง หมายถึง การที่นักษัตรได้รับอิทธิพลถูกเบียดเบียนจากนักษัตรเจ้าเรือนประจำปี ส่งผลในเรื่องของคดีความ ความผิดพลาดในการคาดหวังหรือกระทำสิ่งต่างๆ ประสบปัญหาในเรื่องสังคม การพูดจา มีผู้ไม่หวังดี เห็นผิดเป็นชอบ ขาดความรอบคอบ
ผั่ว หมายถึง การที่นักษัตรได้รับอิทธิพลถูกเบียดเบียนจากนักษัตรเจ้าเรือนประจำปี ส่งผลในเรื่องของปัญหาและความขัดแย้งในครอบครัว ขาดความสงบสุข เกิดความรู้สึกเศร้าหมองเหงาเดียวดาย ความรักไม่สมหวังความสัมพันธ์ไม่ราบรื่น
ไห่ หมายถึง การที่นักษัตรได้รับอิทธิพลถูกเบียดเบียนจากนักษัตรเจ้าเรือนประจำปี ส่งผลในเรื่องของความเจ็บป่วย สุขภาพร่างกายไม่ค่อยดี เกิดความเข้าใจผิดและความไม่ปรองดองกับผู้อื่นได้ง่าย
รายละเอียดต่างๆของนักษัตรที่เบียดเบียนส่งอิทธิพลเฮ้ง,ผั่ว และไห่ มีดังนี้
นักษัตรชวด เบียดเบียน นักษัตรเถาะ นักษัตรมะแม นักษัตรระกา
นักษัตรฉลู เบียดเบียน นักษัตรมะโรง นักษัตรมะเมีย นักษัตรจอ
นักษัตรขาล เบียดเบียน นักษัตรมะเส็ง นักษัตรกุน
นักษัตรเถาะ เบียดเบียน นักษัตรชวด นักษัตรมะโรง นักษัตรมะเมีย
นักษัตรมะโรง เบียดเบียน นักษัตรฉลู นักษัตรเถาะ นักษัตรมะแม
นักษัตรมะเส็ง เบียดเบียน นักษัตรขาล นักษัตรวอก
นักษัตรมะเมีย เบียดเบียน นักษัตรฉลู นักษัตรเถาะ
นักษัตรมะแม เบียดเบียน นักษัตรชวด นักษัตรฉลู นักษัตรจอ
นักษัตรวอก เบียดเบียน นักษัตรมะเส็ง นักษัตรกุน
นักษัตรระกา เบียดเบียน นักษัตรชวด นักษัตรจอ
นักษัตรจอ เบียดเบียด นักษัตรฉลู นักษัตรมะแม นักษัตรระกา
นักษัตรกุน เบียดเบียน นักษัตรขาล นักษัตรวอก
1.ควรไปสักการะบูชาเทพไท้ส่วยเอี๊ย(เทพผู้คุ้มครองดูแลดวงชะตาประจำนักษัตร) ในศาลเจ้าจีนตามสถานที่ต่างๆที่ใกล้เคียง เช่น วัดมังกรกมลาวาส(วัดเล่งเน่ยยี่) เป็นต้น
2.ในช่วง1-2วันของวันปีใหม่จีนหรือวันตรุษจีน นักษัตรใดที่ตกเกณฑ์ชงหรือคักควรสวดมนต์ ไหว้พระและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ถือศีลทำสมาธิ ภายในบ้าน ไม่ควรออกนอกบ้านไปไหน พ้นจากนี้แล้วจึงสามารถเดินทางได้ตามปรกติ
3.หลีกเลี่ยงการเกี่ยวข้องหรือเดินทางไปโรงพยาบาล งานศพ ป่าช้า สถานที่รกร้าง เพราะเป็นช่วงที่ชะตาชีวิตได้รับอิทธิพลพลังงานที่ไม่ดีจากสิ่งเหล่านั้นได้ง่าย ทำให้เกิดความหดหู่เศร้าหมองอ่อนไหว มีสิ่งไม่ดีมากระทบกับชีวิต
4.มีสติอยู่เสมอ ตรวจสอบความเรียบร้อยปลอดภัยเป็นประจำ ประพฤติตนให้ดีทั้งกาย วาจา ใจ ไม่ทำผิดคิดชั่ว หลีกเลี่ยงปัญหาจากผู้คนและสิ่งแวดล้อมความเสี่ยงทั้งหลาย ใช้เหตุผลเป็นสิ่งสำคัญ
5.หมั่นสร้างบุญบารมีทุกประการให้บ่อยครั้งสม่ำเสมอ หากมีโอกาสควรงดเว้นทานเนื้อสัตว์ รับประทานอาหารมังสวิรัติหรืออาหารเจบ้าง
ทำอย่างไรหากดวงชะตาชีวิตได้รับอิทธิพลเฮ้ง,ผั่ว,ไห่(ถูกเบียดเบียน)
1.สามารถไปสักการะบูชาเทพไท่ส่วยเอี๊ยได้เช่นเดียวกับชงหรือคัก หรือจะไปสักการะไหว้พระและสิ่งศักดิ์สิทธิ์อื่นๆได้ตามแต่ที่สะดวกต้องการ
2.เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงมีหลักฐานยึดถือในชีวิตควรไปศาลหลักเมืองเพิ่มเติม
3.เอาใจใส่ดูแลสุขภาพร่างกาย ดำรงรักษามิตรภาพความสัมพันธ์ต่างๆเอาไว้ให้ดี ระมัดระวังเรื่องการพูดจาการแสดงออกต่อกัน และการตัดสินใจสิ่งต่างๆเป็นสำคัญ
4.ช่วยเหลือผู้พิการ คนเจ็บป่วย คนชรา ผู้ที่เดือดร้อนขาดที่พึ่ง มีส่วนร่วมกับงานการกุศลและสาธารณะประโยชน์
5.ประพฤติดำรงตนให้ดีทั้งกาย วาจา ใจ มีสติ มีศีลธรรมประจำใจ ไม่ทำผิดคิดร้ายในเรื่องใดๆสร้างสมบุญบารมีทุกประการเอาไว้อยู่เสมอมิให้บกพร่อง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น